วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เรื่องของเมาส์

เมาส์คืออะไร
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับชี้พิกัดบนหน้าจอว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องการเลือกทำงานบนตำแหน่งใดๆ ที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ตัวนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ คอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น (สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ 2549)
เมาส์ (mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการใช้งานในคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งออกแบบเพื่อให้พอดีกับการใช้งานโดยส่วนโค้งและส่วนเว้าโค้งเข้าตามกับอุ้งมือของผู้ใช้ โดยภายด้านใต้ของเมาส์จะมีอุปกรณ์ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนไหวของเมาส์ โดยส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของเคอร์เซอร์ (cursor) บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เมาส์ได้ชื่อมาจากรูปร่างของตัวมันเอง และสายไฟ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนูและหางหนู และขณะเดียวกันการเคลื่อนที่ของเคอร์เซอร์ (cursor) บนหน้าจอมีลักษณะการเคลื่อนที่ไม่มีทิศทางเหมือนการเคลื่อนที่ของหนู (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 2549)
เมาส์ (Mouse) หรือ "หนูอิเล็กทรอนิกส์" เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะ
คล้ายหนู มีสายต่ออยู่ที่ปลายลักษณะเดียวกับหางหนู เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer) ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด (keyboard) (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 2549)
เมาส์ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ นำเข้าข้อมูลโดยการเลื่อนเมาส์เพื่อบังคับตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนหน้าจอและทำการคลิก (click) หรือ ดับเบิลคลิก (double click)


การทำงานของเมาส์
ส่วนประกอบภายใจของเมาส์โดยทั่วไปจะเป็นลูกบอลยางทรงกลม ซึ่งทำมาจากลูกเหล็กและหุ้มยางเอาไว้ เพื่อให้ลูกบอลยางมีน้ำหนักและติดหนึบกับแผ่นรองเมาส์ นอกจากนั้นยังมีลูกกลิ้งทรงกระบอก 2 อัน วางตัวในแนวตั้งฉากกัน สำหรับใช้ในการระบุทิศทางและตำแหน่งการเคลื่อนที่ในแนว ซ้าย-ขวา บน-ล่าง (แกน X , Y) ที่ปลายของลูกกลิ้งทั้งสองจะมีแผ่นพลาสติกสีดำลักษณะเป็นแผ่นวงกลมแบนบางเจาะช่องสี่เหลี่ยมหลายช่องตามแนวรัศมีของวงกลมและมีอุปกรณ์ตรวจจับแสง (photo detector) ติดกับอุปกรณ์ตรวจจับแสงจะประกอบด้วย LED จะมีสวิตซ์ของปุ่มคลิกเมาส์และแผงวงจรควบคุมไมโครคอนโทรเลอร์(Micro controller) ซึ่งจะทำหน้าที่รับสัญญาณจากสวิตซ์และอุปกรณ์รับแสงเพื่อแปลงเป็นสัญญาณข้อมูลสำหรับอินเทอร์เฟส (Interface) กับคอมพิวเตอร์
การทำงานของเมาส์ คือ การเลื่อนเมาส์ ลูกบอลยางก็จะหมุนกลิ้งไปตามทิศทางของเมาส์ที่เลื่อนไปซึ่งการหมุนของลูกบอลยางจะมีผลให้ลูกกลิ้งหมุนตามได้ด้วยในแนวแกน (X , Y) ซึ่งการหมุนของลูกกลิ้งก็จะส่งผลให้แผ่นพลาสติกกลมที่ปลายหมุนตามไปด้วยเช่นกัน การหมุนของแผ่นพลาสติกทำให้แสงจาก LED ที่อุปกรณ์รับแสงได้รับแตกต่างกันไปตามมุมองศาของการหมุนตัวรับแสงก็จะส่งสัญญาณที่แตกต่างกันไปให้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro controller) ทำให้รู้ได้ว่าขณะนี้มีการเคลื่อนตำแหน่งของเมาส์ไปในทิศทางและระยะทางเท่าใด(สหัสญา บุญสวัสดิ์ 2543 : 68-69)
เมาส์ประกอบด้วย ลูกกลิ้งที่ติดตั้งอยู่ด้านล่าง และมีปุ่มกดควบคุม (ตั้งแต่ 1 - 3 ปุ่ม) การใช้เมาส์จะนำเมาส์วางไว้บนพื้นราบ และเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางที่ต้องการ บนจอภาพจะปรากฏ สัญลักษณ์ชี้ตำแหน่ง เรียกว่า "Mouse Pointer" (มักจะเป็นรูปลูกศรเฉียงซ้าย) เมื่อต้องการจะทำงานใดๆ ก็ทำการกดปุ่มเมาส์ ตามหลักการใช้เมาส์ คอมพิวเตอร์จะรับสัญญาณ และทำการประมวลผลต่อไป (keyboard) (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 2549)



วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี(2549)ได้สรุปลักษณะการทำงานของเมาส์ได้ดังนี้
1. เมื่อเคลื่อนเมาส์ ลูกบอลด้านล่างจะหมุน
2. จานหมุนสองแนว จับการเคลื่อนไหวของลูกบอล
3. เมื่อจานหมุนทำการหมุน รูบริเวณขอบจานหมุนหมุนตาม
4. แสงอินฟราเรดส่งผ่านรูจานหมุน
5. เซนเซอร์อ่านค่า และส่งเป็นค่าของความเร็วการเคลื่อนไหวในแนวแกน X และแกน Y

เทคโนโลยีของเมาส์
1. Mechanical mice
การทำงาน เมาส์ลูกกลิ้งจะมีกลไกภายในอันประกอบด้วยลูกบอลยางที่กลิ้งไปมา ติดอยู่กับแกนหมุน 2-3แกน เมื่อทำการเคลื่อนย้ายตัวเมาส์ ซึ่งตัวลูกบอลจะกดติดอยู่กับลูกกลิ้งโดยแกนของลูกกลิ้งจะต่อเข้ากับจานที่เรียกว่า Encoder ซึ่งบนจานจะมีหน้าสัมผัสเป็นจุดๆ ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเมาส์ เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัส (Contact bar) ก็สร้างสัญญาณบอกไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งตัวโปรแกรมควบคุมเมาส์ จะทำหน้าที่แปลเป็นการเคลื่อนที่ของเคอร์เซอร์ (cursor) อีกทีหนึ่ง เมาส์แบบลูกกลิ้งนั้นใช้งานสะดวก เพราะสามารถนำไปใช้ได้ทุกที่แต่ควรมีแผ่นรองเมาส์ ซึ่งอาจเป็นแผ่นยางหรือวัสดุอะไรก็ได้ ที่มีพื้นผิวเรียบ



รูปแสดงตัวอย่าง Mechanical mice และส่วนประกอบภายใน

2. Optical mice
การทำงาน ใช้หลักการในการตรวจจับการเคลื่อนไหวโดยใช้เซนเซอร์แสงที่อยู่ให้เมาส์ ร่วมกับ LED optical mouse ในยุคแรก ๆ ประดิษฐ์โดย Kirsch บริษัท Mouse System Corporation ซึ่งสามารถใช้ได้บน mouse pad ที่มีพื้นผิวเป็นโลหะเฉพาะเท่านั้น แต่เมื่อคอมพิวเตอร์ราคาถูกลง optical mouse จึงได้ใส่ chip สำหรับประมวลผลภาพ (image processing chips) เข้าไปซึ่งสามารถใช้ได้บนพื้นผิวหลายชนิดมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องใช้ mouse pad อีกต่อไป
การทำงานของเมาส์แบบที่ไม่ต้องใช้ mouse pad คือการใช้ sensor ในการตรวจจับการเคลื่อนที่ของพื้นผิวที่เกิดจากการใช้ LED ส่องไปที่พื้นผิว และจะถูกส่งต่อไปที่ส่วนประมวลผลภาพ (image processing part) เพื่อจะแปลงไปเป็นการเคลื่อนไหวบนแกน X และ Y โดยจะประมวลผลถึง 1512 เฟรมต่อวินาที ซึ่งในแต่ละเฟรมมีขนาด 18*18 pixels และแต่ละ pixel มีระดับความเข้มที่แตกต่างกันได้ถึง 64 เฉด เมาส์แบบนี้มักจะสับสนกับ Laser Mouse และกลายเป็นมาตรฐานในปัจจุบันเนื่องจากความแม่นยำที่มีมากกว่าเมาส์แบบลูกกลิ้ง (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 2549)
ความต้องการใช้งาน ส่วนหนึ่งมาจากนักเล่นเกมแนว FPS ซึ่งต้องการความแม่นยำของเมาส์ในการเล็งโดยใช้เมาส์สูง




รูปแสดงตัวอย่าง Optical mice และส่วนประกอบภายใน


3. Optical-Mechanical Mice
การทำงาน คล้ายกับ Mechanical Mouse เพียงแต่ตัวตรวจรับการเคลื่อนที่ของจาน Encoder นั้นใช้เป็น LED โดยบนจานถูกเจาะรูรอบๆ ในด้านหนึ่งของจานซึ่งมีหน้าที่ให้กำเนิดแสงและอีกฝากหนึ่งของจากก็จะมีทรานซิสเตอร์แสงทำหน้าที่ตรวจรับแสง



รูปแสดงตัวอย่าง Optical-Mechanical mice และส่วนประกอบภายใน

3. Wireless Mice
การทำงาน เป็นเมาส์ไร้สายที่เหมือนกับเมาส์ธรรมดาที่อาจทำงานด้วยกลไกแบบลูกกลิ้งหรือแบบแสงก็ได้แต่ไม่มีสายต่อเท่านั้นเพราะจะใช้การส่งสัญญาณไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านตัวรับอีกทีหนึ่งแทนที่จะผ่านทางสายโดยตรง ลักษณะการทำงานคล้ายกับรีโมตคอนโทรลของโทรทัศน์ ซึ่งการพัฒนาในช่วงแรกมีการใช้เทคนิคอินฟราเรด (Infrared Technology) แต่ต่อมาก็มีการพัฒนาไปใช้เทคโนโลยีคลื่นวิทยุ (Radio Technology) ทั้งนี้เนื่องจากการใช้เทคนิคอินฟราเรดจะมีข้อจำกัดในเรื่องของการส่งรับสัญญาณ เครื่องรับจะต้องอยู่ในแนวทิศทางเดียวกันและห้ามมีอุปกรณ์ใดๆ ขวางแนวการรับ-ส่งของคลื่น สำหรับเมาส์ที่ใช้เทคโนโลยีความถี่คลื่นวิทยุนี้จะไม่มีปัญหาในเรื่องดังกล่าว ทำให้การใช้งานเมาส์มีความสะดวกมากขึ้นและใช้งานได้ในรัศมีความสะดวกมากขึ้น และใช้งานได้ในรัศมีที่กว้างขึ้น เนื่องจากคลื่นวิทยุสามารถทะลุผ่านอุปกรณ์กีดขวางใดๆ ได้ แต่จะต้องมีการติดตั้งเครื่องรับสัญญาณเพิ่มเติมที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อดีของเมาส์ประเภทนี้ คือ สามารถเลื่อนเมาส์ได้ในระยะที่อยู่ห่างจากคอมพิวเตอร์มากขึ้น เนื่องจากไม่มีสายเป็นตัวกำหนดขอบเขตการทำงานอีกต่อไป

ประเภทของเมาส์
1.Cordless
เมาส์ที่ใช้คลื่นวิทยุแทนการใช้สายในการเชื่อมต่อ (computer hope 1998-2006)
2.Foot mouse
แทนที่จะใช้นิ้วมือกด ก็ใช้เท้ากดแทน (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 2549)
3.Glide point
จะเป็นแผนสี่เหลี่ยมที่วางอยู่หน้าแป้นพิมพ์ สามารถใช้นิ้ววาดเพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์ เหมือนกับ Touch pad (computer hope 1998-2006)

4.IntelliMouse หรือ Wheel mouse
มีล้อหมุนใช้สำหรับเลื่อนได้ เป็นชื่อเรียกเมาส์ของ Microsoft (computer hope 1998-2006)
5.J mouse
ใช้แป้นพิมพ์ J แทนการควบคุมการเลื่อนตำแหน่งโดยมีปุ่มข้างล่างอีก 2 ปุ่มอยู่ใกล้กับแป้น Space bar เพื่อคลิก (click) ซ้าย-ขวา ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์แบบพกพา ปัจจุบันไม่ใช้แล้วเนื่องจากไม่สะดวกในการใช้งาน (computer hope 1998-2006)
6.Joy stick
เป็นก้านสำหรับใช้โยกขึ้นลง / ซ้ายขวา เพื่อย้ายตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์ แต่จะมีแป้นกดเพิ่มเติมมาจำนวนหนึ่งสำหรับสั่งงานพิเศษ นิยมใช้กับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์หรือควบคุมหุ่นยนต์ (บีคอม [ม.ป.ป.])
รูปตัวอย่าง Joy stick แบบต่าง ๆ


7.Touch pad
แผ่นรองสัมผัส จะเป็นแผนสี่เหลี่ยมที่วางอยู่หน้าแป้นพิมพ์ สามารถใช้นิ้ววาดเพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์ (บีคอม [ม.ป.ป.])



8.Trackball
ลูกกลมควบคุม จะเป็นลูกบอลเล็ก ๆ ซึ่งอาจวางอยู่หน้าจอในเนื้อที่ของแป้นพิมพ์ หรือเป็นอุปกรณ์ต่างหากเช่นเดียวกับเมาส์ เมื่อผู้ใช้หมุนลูกบอลก็จะเป็นการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตัวชี้อีกแบบหนึ่งที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก จะมีลูกบอลยึดติดกับ Socket บนอุปกรณ์ แทนที่เราจะเคลื่อนที่ลูกบอล เราใช้ก็ใช้นิ้วกลิ้งลูกบอลแทน ดังแสดงในรูป ส่วนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กจะมี Track ball ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องอยู่บนคีย์บอร์ด (บีคอม [ม.ป.ป.])

9.Track Point
แท่งชี้ควบคุม จะเป็นแท่งพลาสติกเล็ก ๆ อยู่ตรงกลางแป้นพิมพ์ บังคับโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ เพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์ (บีคอม [ม.ป.ป.])



10.Wheel mouse
เมาส์ที่มีล้อหมุน ใช้สำหรับเลื่อนได้ (computer hope 1998-2006)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
cursor