วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
สัปดาห์ 16/07/52 ฮาร์ดดิสก์

ถือเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลหลักของคอมพิวเตอร์ ภายในมีแผ่นเหล็กกลมแบนมาซ้อนทับกันเป็นจำนวนหลายแผ่นยึดติดกับมอเตอร์ที่หมุนด้วยความเร็วหลายพันรอบต่อนาที โดยมีแขนเล็กๆยื่นออกมา ตรงปลายแขนจะมีหัวอ่านใช้สำหรับอ่านและเขียนข้อมูลบนจานแม่เหล็กโดยหลักการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่หัวอ่าน ขนาดของจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์สำหรับเครื่องพีซีตั้งโต๊ะ(Desktop)จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่3.5นิ้ว ส่วนของเครื่องโน๊ตบุ๊คจะมีขนาด2.5นิ้ว
ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์
1.หัวต่อ IDE/SATA Data เป็นหัวต่อสำหรับสายนำข้อมูลเข้า (Data) โดยหัวต่อแบบ IDE มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบนๆมีขา40ขา(20แถว2ขา) ส่วนหัวต่อแบบ Serial ATA (SATA) จะมีขาเพียง7ขา(หน้าสัมผัส) และหัวต่อแบบSCSIที่นิยมใช้กับเครื่องเซิฟเวอร์ในองค์กรก็จะมีหัวต่อที่แตกต่างกัน เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใช้เสียบผิด
2.หัวต่อ Power/SATA Power คือ หัวต่อสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าไปให้ฮาร์ดดิสก์ โดยแบบIDEจะใช้หัวต่อแบบเดียวกับหัวต่อแหล่งจ่ายไฟที่ใช้กันทั่วไป ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์แบบSerial ATAจะใช้หัวต่อแบบ15ขา(หน้าสัมผัส) โดยจะจ่ายไฟที่ระดับ 3.3V เพิ่มขึ้นมาจากปกติที่มีเพียง 5V และ 12V
3.จัมเปอร์ (Jumper) ใช้กับฮาร์ดดิสก์แบบ IDE เท่านั้น เนื่องจากการเชื่อมต่อแบบ IDE สายแพเส้นเดียวจะสามารถติดตั้งฮาร์ดดิสได้2ตัวพร้อมกัน ดังนั้น จัมเปอร์จึงใช้เป็นตัวตั้งค่าให้ฮาร์ดดิสก์เป็นตัวหลัก (Master) หรือตัวรอง (Slave)
4.ชิพควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและการรับ/ส่งข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ มีลักษณะเป็นแผงวงจรติดตั้งอยู่บนตัวฮาร์ดดิส
ระบบฮาร์ดดิสค์แตกต่างกับแผ่นดิสเกตต์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีจำนวนหน้าสำหรับเก็บบันทึกข้อมูลมากกว่าสองหน้า นอกจากระบบฮาร์ดดิสค์จะเก็บบันทึกข้อมูลเหมือนแผ่นดิสเกตต์ยังเป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านหรือเขียนบันทึกข้อมูลเหมือนช่องดิสค์ไดรฟ์แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสค์ จะมีความหนาแน่นของการจุข้อมูลบนผิวหน้าได้สูงกว่าแผ่นดิสเกตต์มาก เช่น แผ่นดิสเกตต์มาตราฐานขนาด 5.25 นิ้ว ความจุ 360 กิโลไบต์ จะมีจำนวนวงรอบบันทึกข้อมูลหรือเรียกว่า แทร็ก(track) อยู่ 40 แทร็ก กรณีของฮาร์ดดิสค์ขนาดเดียวกันจะมีจำนวนวงรอบสูงมากกว่า 1000 แทร็กขึ้นไป ขณะเดียวกันความจุในแต่ละแทร็กของฮาร์ดดิสค์ก็จะสูงกว่า ซึ่งประมาณได้ถึง 5 เท่าของความจุในแต่ละแทร็กของแผ่นดิสเกตต์เนื่องจากความหนาแน่นของการบันทึกข้อมูลบนผิวแผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสค์สูงมาก ๆ ทำให้หัวอ่านและเขียนบันทึกมีขนาดเล็ก ตำแหน่งของหัวอ่านและเขียนบันทึกก็ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ชิดกับผิวหน้าจานมาก โอกาสที่ผิวหน้าและหัวอ่านเขียนอาจกระทบกันได้ ดังนั้นแผ่นจานแม่เหล็กจึงควรเป็นแผ่นอะลูมิเนียมแข็ง แล้วฉาบด้วยสารแม่เหล็ก ฮาร์ดดิสค์จะบรรจุอยู่ในกล่องโลหะปิดสนิท เพื่อป้องสิ่งสกปรกหลุดเข้าไปภายใน ซึ่งถ้าต้องการเปิดออกจะต้องเปิดในห้องเรียก clean room ที่มีการกรองฝุ่นละออกจากอากาศเข้าไปในห้องออกแล้ว ฮาร์ดดิสค์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นแบบติดภายในเครื่องไม่เคลื่อนย้ายเหมือนแผ่นดิสเกตต์ ดิสค์ประเภทนี้อาจเรียกว่า ดิสค์วินเชสเตอร์(Winchester Disk)
ระบบฮาร์ดดิสค์แตกต่างกับแผ่นดิสเกตต์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีจำนวนหน้าสำหรับเก็บบันทึกข้อมูลมากกว่าสองหน้า นอกจากระบบฮาร์ดดิสค์จะเก็บบันทึกข้อมูลเหมือนแผ่นดิสเกตต์ยังเป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านหรือเขียนบันทึกข้อมูลเหมือนช่องดิสค์ไดรฟ์แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสค์ จะมีความหนาแน่นของการจุข้อมูลบนผิวหน้าได้สูงกว่าแผ่นดิสเกตต์มาก เช่น แผ่นดิสเกตต์มาตราฐานขนาด 5.25 นิ้ว ความจุ 360 กิโลไบต์ จะมีจำนวนวงรอบบันทึกข้อมูลหรือเรียกว่า แทร็ก(track) อยู่ 40 แทร็ก กรณีของฮาร์ดดิสค์ขนาดเดียวกันจะมีจำนวนวงรอบสูงมากกว่า 1000 แทร็กขึ้นไป ขณะเดียวกันความจุในแต่ละแทร็กของฮาร์ดดิสค์ก็จะสูงกว่า ซึ่งประมาณได้ถึง 5 เท่าของความจุในแต่ละแทร็กของแผ่นดิสเกตต์เนื่องจากความหนาแน่นของการบันทึกข้อมูลบนผิวแผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสค์สูงมาก ๆ ทำให้หัวอ่านและเขียนบันทึกมีขนาดเล็ก ตำแหน่งของหัวอ่านและเขียนบันทึกก็ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ชิดกับผิวหน้าจานมาก โอกาสที่ผิวหน้าและหัวอ่านเขียนอาจกระทบกันได้ ดังนั้นแผ่นจานแม่เหล็กจึงควรเป็นแผ่นอะลูมิเนียมแข็ง แล้วฉาบด้วยสารแม่เหล็ก ฮาร์ดดิสค์จะบรรจุอยู่ในกล่องโลหะปิดสนิท เพื่อป้องสิ่งสกปรกหลุดเข้าไปภายใน ซึ่งถ้าต้องการเปิดออกจะต้องเปิดในห้องเรียก clean room ที่มีการกรองฝุ่นละออกจากอากาศเข้าไปในห้องออกแล้ว ฮาร์ดดิสค์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นแบบติดภายในเครื่องไม่เคลื่อนย้ายเหมือนแผ่นดิสเกตต์ ดิสค์ประเภทนี้อาจเรียกว่า ดิสค์วินเชสเตอร์(Winchester Disk)
วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
north bridge&south bridge ณ สัปดาห์ที่ 9

North bridge
เป็นชิพที่มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ด้านความเร็วสูงทั้งหมดในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบไปด้วย CPU ,RAM , VGA ทั้งโครงสร้างของ PC และ Notebook ก็มีหลักการเหมือนกันครับ
เป็นชิพที่มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ด้านความเร็วสูงทั้งหมดในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบไปด้วย CPU ,RAM , VGA ทั้งโครงสร้างของ PC และ Notebook ก็มีหลักการเหมือนกันครับ
South bridge
เป็นชิพที่มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีความเร็วต่ำกว่าทางอุปกรณ์ด้าน North bridge ซึ่งได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ และตำแหน่งเชื่อมต่อต่างๆ ที่มีใช้อยู่จะขึ้นตรงกับ South bridge ทั้งหมด โดยจะมีชิพคอนโทรลอุปกรณ์นั้นๆ ดูแลอีกทอดหนึ่ง
เป็นชิพที่มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีความเร็วต่ำกว่าทางอุปกรณ์ด้าน North bridge ซึ่งได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ และตำแหน่งเชื่อมต่อต่างๆ ที่มีใช้อยู่จะขึ้นตรงกับ South bridge ทั้งหมด โดยจะมีชิพคอนโทรลอุปกรณ์นั้นๆ ดูแลอีกทอดหนึ่ง
วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
สัปดาห์ที่ 8 อธิบายอาการเสียของอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์และการแก้ไข
CD-Rom
อาการเสียและการแก้ไขอ่านแผ่นไม่ได้ บางทีก็อ่านได้ ปัญหานี้มาจากตัว cd-rom ผ่านการใช้งานมา 1 ปี ทำให้หัวอ่านสกปรกส่วนใหญ่มาจากฝุ่นที่เกาะมากับแผ่นซีดี การแก้ไขคือทำความสะอาดหัวอ่าน ที่หาซื้อได้ตามร้านคอมพิวเตอร์ทั่วไป
ปัญหาการเล่น cd audio แล้ว windows media หรือ cd player แสดง pop up "please insert an audio" หรือ "Data or no disk loaded"อาจมีสาเหตุมาจากไดร์เวอร์ วิธีแก้ คือ เข้า start>Control Panel>sound&audio Devices>Hardware ดับเบิ้ลคลิกที่ Media Control Devices และ CD Audio Devices เลือก propertiesและ Remove ออกแล้ว Reboot เครื่องใหม่
สาเหตุที่ cd-rom เล่นแผ่นจนแตกลาย เนื่องจากใช้ cd คุณภาพต่ำประกอบกับความเร็วในอ่านสูงมาก ทำให้แผ่นเกิดความเสียหายดังกล่าว การแก้ปัญหาคือ ใช้แผ่น cd ที่มีคุณภาพสูง
ไม่เจอไดร์ E: สาเหตุเกิดจากสายแพของไดร์ บริเวณหัวสายมีสนิมอยู่หรือไม่ หรือหลวมไม่แน่น ให้ลองขยับหรือเปลี่ยนสายแพใหม่
cd-rom กดแผ่นไม่เด้งออกไม่มีไฟกระพริบ เงียบไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ สาเหตุมาจากไม่มีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงทำให้ cd-rom ไม่ทำงาน การแก้ไข ดูที่สาย Power ว่าต่อสนิทหรือขาดหรือไม่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)